เครื่องจักร CNC คืออะไร

167 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เครื่องจักร CNC คืออะไร

เครื่องจักร CNC เป็นชื่อเรียกย่อของเครื่องจักรกลแบบออโตเมติก (Computer Numerical Control) เครื่องจักรถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ตัวเครื่องซึ่งจะทำงานตามรูปแบบที่เราได้ป้อนคำสั่งไปภายในโปรแกรม ซึ่งเครื่องสามารถรองรับได้หลายภาษา ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานแต่ละพื้นที่เครื่องจักร CNC มีทั้งขนาดกลาง และ เครื่องจักร CNC ขนาดใหญ่ ด้วยเช่นกัน

เครื่องจักร CNC นั้นนิยมใช้กับชิ้นงานที่เป็นโลหะ ต้องการความละเอียด แม่นยำ และการผลิตค่อนข้างซับซ้อนเป็นพิเศษ ดังนั้นเครื่อง CNC จึงผลิตขึ้นมาเพื่อทดแทนการทำงานแบบเดิมให้สะดวกสบายขึ้น รวดเร็ว และยังให้ความแม่นยำ ด้วยระบบการทำงานอัตโนมัติควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้ผลิตชิ้นงานโลหะที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งตัวเครื่องจักร CNC นั้นจะประกอบไปด้วยระบบของมอเตอร์ไฟฟ้า ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ งานที่ผลิตออกมานั้นจึงมีความปราณีต แม่นยำ และรวดเร็วกว่าแบบเดิมที่เคยเป็นมา

จุดประสงค์หลักในระบบเครื่องจักร CNC

เนื่องจากการทำงานที่ซับซ้อนของชิ้นงาน ประกอบกับเป็นงานโลหะ ซึ่งต้องใช้ความละเอียดแม่นยำสูง เครื่องจักร CNC จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ 
ด้วยระบบคอมพิวเตอร์คอนโทรล ควบคุมการทำงาน การเปลี่ยนแปลง เพิ่มความแม่นยำโดยหากจะเปรียบเทียบเครื่องจักรแบบเดิมๆ ที่จะใช้แรงงานคนในการควบคุมเครื่องจักร CNC เหล่านี้ ในยุคปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนระบบการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ยังคงต้องใช้คนในการเป็นตัวคุมเครื่องจักรเพียงการป้อนโปรแกรมคำสั่งที่ต้องการให้เครื่องทำงานเข้าไป เพื่อการผลิตชิ้นงานได้ถูกต้องและแม่นยำขึ้นนั่นเอง

การทำงานของระบบเครื่องจักร CNC เพิ่มความสามารถของเครื่องโดยทั่วๆไปแล้วให้สามารทำงานได้ดีเกินคาด โดยเฉพาะงานที่มีความละเอียด ซับซ้อนสูง ได้ระบบควบคุมที่ให้ความแม่นยำและรวดเร็ว ชนิดที่ความเข้าใจแรงงานคนยากที่จะเข้าถึงได้ แต่ในระบบการทำงานด้วยการคุมของคอมพิวเตอร์ ช่วยให้การทำงานได้ผลลัพธ์ออกมาได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น

ในยุคแห่งโลกเทคโนโลยี ที่เรียกได้ว่าเป็นโลกแห่งนวัตกรรม ได้มีการประยุกต์ใช้ระบบเครื่องจักร CNC เข้าไปทำงานกับเครื่องจักรพื้นฐาน ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวนหนึ่ง เพื่อใช้งานในระบบการหมุนเกลียว ทำหน้าที่แทนแรงงานคน และอีกส่วนก็เป็นระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ใช้ควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับหมุนเกลียว ให้ความละเอียดในการควบคุมได้มากถึง 0.1 องศา เรียกได้ว่าดีมากกว่าที่เราเคยคาดการณ์กันไวัถึง 0.02 มิลลิเมตร

ในยุคปัจจุบัน การใช้ระบบเครื่องจักร CNC ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องจักรขั้นพื้นฐานนั้น ในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องยนตร์ เครื่องจักรกล หรือแม่พิมพ์ก็ตาม

จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ต่างๆล้วนมีความซับซ้อนและไม่ควรเกิดปัญหาความผิดพลาดในขั้นตอนการผลิต รวมถงการซ่อมและสร้างในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องจักร ด้วยค่าใช้จ่ายเบื้องต้นสำหรับระบบเครื่องจักร CNC นั้นตัวเลขคร่าวๆ น่าจะอยู่ราวหลายพันหลายบาท

เครื่องจักร CNC แบบอัตโนมัติ คืออะไร...?

ในทางปฏิบัติระบบนี้จะถูกควบคุมโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ การนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาด้านเทคโนโลยี เช่น เยอรมัน, สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น ระบบดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีที่ต้องผลิตโดยกระบวนการชั้นสูง มีการออกแบบที่ซับซ้อน และต้องเข้าใช้หลักในการใช้งาน เรียกได้ว่าผลิตแล้วต้องใช้งานได้จริงนั่นเอง
สำหรับเครื่องจักร CNC ในประเทศไทย สำหรับภาคอุตสาหกรรมแล้วนั้น ดร.พินิจ งามสม ได้ทำการวิจัยระบบ CNC ซึ่งใช้เวลามากกว่า 4 ปี ทั้งการออกแบบและพัฒนาสร้างระบบที่ซับซ้อนกับการทำงานเครื่องจักร CNC ได้สำเร็จ 

สามารถนำมาใช้งานได้จริง โดยงานวิจัยพื้นฐานผลงานดังกล่าวได้รับการยกย่องให้กลายเป็นบทความดีเด่นในสาขา Dynamics, Systems and Control ในการประชุมเครือข่ายวิศวเครื่องกลแห่งประเทศไทย ในปี 2545 จากนั้นได้ถูกจัดพิมพ์เป็นวารสารสากลทางวิชาการวิศวกรรมที่น่าเชื่อถือนั่นก็คือ
“ Jounal Of Dynamic System Measurement and Control โดย American Society Of Mechanical Engineers ในช่วงปี 2546”

ระบบเครื่องจักร CNC การประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ

1.งานของระบบอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการตัด ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งจะให้ชิ้น งานออกมาสวยงามและมีความปราณีต 

2.งานในอุตสาหกรรมรองเท้า

3.งานอุตสาหกรรมยานยนต์

4.งานออกแบบ งานสถาปนิก และการออกแบบโมเด็มต่างๆฃ

5.การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มาจากอัญมณี

6.งานที่มีการตกแต่งหรืองานแกะสลัก

7.งานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร

8.งานตกแต่งอุปกรณ์สำหรับรถยนต์ รวมถึงรถประเภทอื่น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้